วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553


กล้อง D-SLR มักนำตัวกล้องที่ใช้ฟิล์มแบบ 35mm. SLR มาดัดแปลงให้เป็นกล้องดิจิตอล โดยเปลี่ยนฝาหลัง และแทนที่ฟิล์มด้วยเซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

เซ็นเซอร์รับภาพ หรือเรียกว่า Image Sensor ใช้ในการรับสัญญาณภาพ แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัล
Exposure modes ใช้ในการเปลี่ยนโหมดการถ่าย หรือ โหมดการทำงาน
ปุ่มกดชัตเตอร์ ใช้ในการสั่งให้ชัตเตอร์ทำงาน
แฟลช ใช้ในการเพิ่มแสงให้ภาพ หรือ ทำให้เกิดแสงสะท้อน เป็นประกายในตา
Hot Shoe ในกรณีที่แฟลตในตัวเครื่องไม่เพียงพอสามารถต่อเพิ่มแฟลตได้
ไฟแสดงสถานะการตั้งเวลาถ่ายภาพ เป็นไฟLEDกระพริบตามเวลาการตั้งถ่ายภาพ
เลนส์ถ่ายภาพ มีหลายชนิด ตามการใช้งาน และ ชนิดของ Lens mount
ปุ่มเปิดปิด ใช้สำหรับเปิดปิดกล้อง
เซลล์วัดแสงแฟลต เป็นอุปกรณ์ทำจาก CCD ใช้วัดแสงจากวัตถุเพื่อชดเชยแฟลต และตั้งค่า Guide Number
ช่องมองภาพ ใช้สำหรับมองภาพ ซึ่งภาพจะถูกสะท้อนผ่านกระจกสะท้อน ที่อยู่ด้านหน้าเซ็นเซอร์รับภาพ
USB Socket เป็นช่องสำหรับเสียบสายยูเอสบีเพื่อย้ายข้อมูลจากกล้องไปยังคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ
ช่องเสียบหม้อแปลง เป็นช่องนำเข้าไฟจากหม้อแปลง
หน้าจอLCD สำหรับแสดงภาพ และการตั้งค่า โดยกล้องบางรุ่น จะมีหน้าจอแยกกัน เพื่อแสดงรายละเอียด ที่แตกต่างกัน
ช่องต่อขาตั้ง เป็นช่องสำหรับต่อกับขาตั้งกล้อง หรือ กริปแนวตั้ง
ช่องใส่การ์ดความจำ สำหรับใส่การ์ดความจำ
ปุ่มคอนโทรลคำสั่ง โดยส่วนใหญ่เป็นปุ่มสี่ทิศทาง ใช้สำหรับเลื่อนปรับค่าต่างๆ
วงล้อปรับค่า เป็นวงล้อด้านบนของกล้อง ใช้สำหรับปรับค่าโดยเฉพาะ เช่น รูรับแสง ค่าชดเชยแสง
วงล้อโฟกัส เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับระยะโฟกัสของเลนส์
วงล้อซูม เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับอัตราขยายของเลนส์
รังถ่าน ใช้สำหรับใส่แบตเตอรี่ของกล้อง
แบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงานของกล้อง โดยส่วนใหญ่จะเป็น Lithium ion polymer battery หรือ Nickel metal hydride battery
ช่องต่อออกสัญญาณวิดีโอ เป็นสายสัญญาณขนาดเล็กใช้ต่อกับโทรทัศน์ผ่านช่องComposite

สแกนเนอร์เลเซอร์ 3 มิติ ทำงานโดยเครื่องจะยิงเลเซอร์ออกจากเครื่อง และรอเลเซอร์สะท้อนจากวัตถุกลับเข้าไปสแกนเนอร์ และทำการวัดระยะเวลาในการเดินทางของเลเซอร์ เพื่อคำนวณหาระยะทางของตำแหน่งกล้องเทียบกับวัตถุ จากสมการของความเร็ว ในลักษณะของไลดาร์ (LIDAR, Laser Detection and Ranging)

การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรกๆนั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ๆกันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญานวิทยาเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า Wireless mouse

คีย์บอร์ด (keyboard) เป็นคำในภาษาอังกฤษซึ่งในภาษาไทยนำมาใช้แบบทับศัพท์ อาจมีความหมายดังต่อไปนี้

ในการพิมพ์
คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) อุปกรณ์ป้อนคำสั่งของคอมพิวเตอร์
ในทางดนตรี
ลิ่มนิ้ว (musical keyboard) ก้านที่อยู่ติดกันเป็นแผง ตามระดับความถี่เสียง
เครื่องลิ่มนิ้ว (keyboard instrument) เครื่องดนตรีที่มีลิ่มนิ้วเป็นส่วนประกอบ มีหลายชนิดเช่นคีย์บอร์ดไฟฟ้า เชิร์ชออร์แกน เมโลดิกา หรือแอกคอร์เดียนบางชนิด
คีย์บอร์ดไฟฟ้า (electronic keyboard) เครื่องดนตรีแบบคีย์บอร์ดชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการผลิตเสียง
ออร์แกนไฟฟ้า (electric organ) คีย์บอร์ดไฟฟ้าที่ผลิตเสียงออกมาคล้ายออร์แกน
อิเล็กโทน หรือ อีเล็กโทน (Electone) เครื่องหมายการค้าของออร์แกนไฟฟ้า ผลิตโดยยามาฮ่า

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553








ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญ

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งานบริการคอมพิวเตอร์

หน่วยที่1 ความรุ้ทั่วไปเที่ยวกับคอมพิวเตอร์
หน่วยที่2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่3 ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
หน่วยที่4 ส่วนประกอบแผงวงจรหลัก
หน่วยที่5 อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูล
หน่วยที่6 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่7 การติดตั้งสายไฟสายสัญญาณ
หน่ายที่8 ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผล
หน่วยที่9 การจักการฮาร์ดิสก์
หน่วยที่10 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
หน่วยที่11 การติดตั้งไดรเวอร์
หน่วยที่12 รักษาความสะอาดคอมพิวเตอร์